ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ

ปรัชญา Philosophy
รวมพลังปัญญา นำพาชุมชน พัฒนาท้องถิ่นสู่สากล ให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
ปณิธาน Resolution
บริการวิชาการ ตามพันธกิจสัมพันธ์พัฒนาท้องถิ่นอย่างสร้างสรรค์
ค่านิยม Core Values
เชิดชูคุณธรรม ยึดมั่นหลักธรรมาภิบาล
อัตลักษณ์ Identity
จิตบริการ (Service Mind)
งานสร้างสรรค์ (Creative works)
มุ่งมั่นพัฒนาท้องถิ่น (Be detained for local development)
เอกลักษณ์ Uniqueness
บูรณาการองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี สู่การพัฒนาท้องถิ่น
วิสัยทัศน์ Vision
“การบริการวิชาการ ชี้ทิศบอกทาง พันธกิจสัมพันธ์ การพัฒนาท้องถิ่นอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน”

คำนิยามศัพท์วิสัยทัศน์
การบริการวิชาการ หมายถึง หน่วยงานภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม มีบทบาทในการให้การบริการวิชาการ ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย ๓ ลักษณะ คือ (๑) การบริการวิชาการที่ผู้รับบริการได้รับประโยชน์โดยตรง (๒) การบริการวิชาการโดยการร่วมทุนกับผู้รับบริการ โดยร่วมมือกันทั้งงบประมาณและทรัพยากร และ (๓) การบริการวิชาการโดยการเพิ่มทุนให้องค์กรซึ่งหน่วยงานที่จัดโครงการใช้งบประมาณรวมทั้งทรัพยากรของหน่วยงานต้นสังกัด ซึ่งการบริการวิชาการมีคณะ ศูนย์ สำนักเป็นผู้ประสานงานวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้หลายๆสาขา ทำให้องค์กรมีเงินรายได้จากหมวดเงินบริการวิชาการ
ชี้ทิศบอกทาง หมายถึง งานการบริการวิชาการเป็นงานบูรณาการองค์ความรู้นวัตกรรม เทคโนโลยี นำสู่ชุมชนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน
การพัฒนาท้องถิ่น หมายถึง การสร้างสรรค์ การเปลี่ยนแปลง การแก้ไขปัญหาโดยนำองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยี ที่มีอยู่ภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เข้าไปพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเชิงพื้นที่ทำให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และด้านการศึกษา
พันธกิจสัมพันธ์ หมายถึง การพัฒนาท้องถิ่น เพื่อสืบสานรักษาต่อยอดตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ เพื่อเป็นหลักยึดในการทำงาน ก่อให้เกิดความร่วมมือ มีภาคีเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัยได้พัฒนาท้องถิ่นร่วมกันทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนาท้องถิ่น ตามกรอบความพอเพียง ๓ ห่วง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกัน อยู่บนพื้นฐาน ๒ เงื่อนไข คือ ความรู้ คุณธรรม และ ๓ ศาสตร์พระราชา ได้แก่ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาสากล ภูมิสังคม และให้คนไทยมีคุณลักษณะ ๔ ประการ (๑)
มีทัศนคติที่ถูกต้อง (๒) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง (๓) มีอาชีพ – มีงานทำ และ(๔) เป็นพลเมืองมีระเบียบวินัย
ความเข้มแข็ง หมายถึง เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยสามารถพึ่งตนเองได้
ลดรายจ่าย มีรายได้ มีเงินออม และภาระหนี้สินลดลง
ยั่งยืน หมายถึง การใช้องค์ความรู้นวัตกรรม เทคโนโลยีหลากหลายวิชาเพื่อนำพาชุมชน สู่การปรับเปลี่ยนตนเอง ให้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ไปในทิศทางที่ดีขึ้นและสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นไปตามความต้องการของชุมชน
พันธกิจ Mission
• ส่งเสริมการบูรณาการองค์ความรู้การวิจัยการเรียนการสอนของบุคลากร อาจารย์ นักศึกษา เพื่อพัฒนาท้องถิ่น ตามพันธกิจสัมพันธ์ ในงานบริการวิชาการ ไปใช้ประโยชน์หรือนำไปใช้ต่อยอดเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม
• พัฒนาท้องถิ่นตามปัญหาของชุมชนและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ส่งเสริมทำนุบำรุง พื้นฟู ศิลปะและวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยน้อมนำ
พระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ ๑๐ สู่การปฏิบัติพัฒนาท้องถิ่น
• สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชนให้มีคุณธรรมและความสามารถในการบริหารงานเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม
• บริหารจัดการทรัพยากรภายในมหาวิทยาลัยอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาลพร้อมรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
เป้าประสงค์
• การบริการวิชาการแก่สังคมในเขตพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัย ด้วยการบูรณาการองค์
ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงพื้นที่ ทำให้ชุมชนและท้องถิ่นได้รับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
• การสร้างภาคีเครือข่ายการบริการวิชาการเกิดความร่วมมือกับองค์กรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าไปพัฒนาท้องถิ่นตามศักยภาพของมหาวิทยาลัยและตรงตามความต้องการของท้องถิ่นในเขตบริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
• การบริการวิชาการได้หลักสูตร ได้โครงการ กิจกรรมการบริการวิชาการและเกษตรกรเป็นวิทยากรตัวคูณที่เป็นต้นแบบ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงพื้นที่สนองตอบต่อผู้รับบริการ
• การบริการวิชาการได้แหล่งเรียนรู้ ศูนย์เรียนรู้ตัวอย่างตามศักยภาพของท้องถิ่นเพื่อสร้างเสริมศักยภาพของเกษตรกรและเป็นหมู่บ้านตัวอย่างให้หมู่บ้านอื่นๆ นำไปใช้ประโยชน์ได้
• ได้ฐานข้อมูลระดับชุมชนหรือตำบล เพื่อใช้วางแผนการพัฒนาท้องถิ่นส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรที่ดีขึ้นโดยคณะ ศูนย์ สำนัก ได้เข้าไปบริการวิชาการ
• การบริการวิชาการมีความเข้มแข็งและยั่งยืน เกิดขึ้นกับชุมชน กลุ่มเกษตรกร เกษตรกร ประชาชน ที่ได้รับการพัฒนาเป็นพื้นที่เป้าหมายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนทำให้กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และด้านการศึกษา โดยได้รับองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของผู้รับบริการ