สำนักบริการวิชาการ เข้าร่วมการประชุมหารือเรื่องแนวทางขับเคลื่อนโครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ร่วมกับ สวทช.และบริษัท โอสถสภา

สำนักบริการวิชาการ เข้าร่วมการประชุมหารือเรื่องแนวทางขับเคลื่อนโครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ร่วมกับ สวทช.และบริษัท โอสถสภา

สำนักบริการวิชาการ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วสันต์ ปินะเต ผู้อำนวยการสำนักฯ เข้าร่วมการประชุมหารือเรื่องแนวทางขับเคลื่อนโครงการการถ่ายทอดเทคโนโลยีการยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ผ่านระบบ Webex Meeting โดยทาง สวทช.จะขับเคลื่อนนำร่องในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด และมหาสารคาม เพื่อปลูกพืชสมุนไพรนำร่องกับ บริษัท โอสถสภา มี 3 ชนิด คือ ขิง (ตลาดต้องการสูง) ไพล และฟ้าทะลายโจร และดำเนินการการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรที่จะนำร่องผลิตสมุนไพรในปี 2566 โดย สวทช. มีแผนพัฒนาข้อเสนอโครงการ 2 แผน คือ
1.เพื่อส่งเสริมแผนการผลิตหัวพันธุ์ปลอดโรค/ ทดสอบพันธุ์สมุนไพรให้สารสำคัญสูง
2. อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสมุนไพรคุณภาพดี

รวมถึงวางแผนการดำเนินงานเพาะปลูก ในปี 2566 จะนำร่องพื้นที่ปลูกขิง 10 ไร่ ใช้ปริมาณหัวพันธุ์ทั้งหมด 4,000 กิโลกรัม (เฉลี่ยใช้หัวพันธุ์ 400 กิโลกรัม/ ไร่) และไพลนำร่อง 3 ไร่  โดยมีแผนจะปลูกในเดือนเมษายน 2566 และฟ้าทะลายโจรจำนวน 5,000 ต้น ซึ่งบริษัท โอสถสภา มีความต้องการพืชสมุนไพร

– ในปี 2566 ต้องการ 120 ตันแห้ง และ ขิง 600 ตันสด (ประเมินว่าต้องใช้พื้นที่ปลูกทั้งหมด 200 ไร่)

– ในปี 2567 ต้องการ 190 ตันแห้ง

– ปี 68 ต้องการ 210 ตันแห้ง

ซึ่งเมื่อได้พันธ์พืชสมุนไพรคุณภาพ สำรวจพื้นที่ของเกษตรกรที่มีความประสงค์จะปลูกพืชสมุนไพร และมีเกษตรกรที่มีศักยภาพ และพร้อมสำหรับการผลิตพืชสมุนไพร ทาง สวทช.จะหารือร่วมกับ บริษัท โอสถสภา เพื่อวางแผนการรับซื้อ

ความเห็น

ความเห็น