ลงพื้นที่ ติดตามการดำเนินการส่งเสริมอาชีพเกษตรผสมผสาน ที่อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ลงพื้นที่ ติดตามการดำเนินการส่งเสริมอาชีพเกษตรผสมผสาน ที่อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

25 สิงหาคม 2562  สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ประสพสุข ฤทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ พร้อมทีมงาน ลงพื้นที่ ติดตามการดำเนินการส่งเสริมอาชีพเกษตรผสมผสาน ที่อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ดังนี้

เวลา 09.00 น. ติดตามผลการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบก๊าซชีวภาพ ในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน  แหล่งเรียนรู้ก๊าซชีวภาพ คุณสัมผัส แก้วสม บ้านหนองสิม ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นสถานที่แหล่งเรียนรู้ติดกับโรงเรียนแกดำวิทยาคาร โรงเรียนมัธยมประจำอำเภอแกดำ

พบว่า เกษตรกรสามารถประหยัดรายจ่าย ไม่ต้องซื้อก๊าซหุงต้ม LPG  เดือนละ 1 ถังๆ 400 บาท ทั้งนี้ยังลดรายจ่ายในการชื้อปุ๋ยมาใส่แปลงหญ้าหวานที่ปลูกเพื่อเลี้ยงวัวและเลี้ยงแพะ เดือนละ 1,000 บาท อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้ครูและนักเรียนมาเรียนรู้พลังงานสะอาดระบบก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์

เวลา 11.00น. ติดตามผลการถ่ายทอดเทคโนโลยี ระบบก๊าซชีวภาพ ในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือน แหล่งเรียนรู้ก๊าซชีวภาพ คุณจตุพร ทับคำภา บ้านทุ่งนาทอง ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม สถานที่แหล่งเรียนรู้ใกล้กับองค์การบริหารส่วนตำบลแกดำ

พบว่า เกษตรกรสามารถประหยัดรายจ่าย ไม่ต้องชื้อก๊าซหุงต้ม LPG  เดือนละ 1 ถังๆ 400 บาท ทั้งนี้ยังสามารถเพิ่มรายได้จากการนำน้ำหมักบรรจุขวดขาย มีรายได้ เดือนละ 800-1,000 บาท และนำกากตะกอนจากบ่อก๊าซใช้แทนปุ๋ยมาใส่แปลงหญ้าที่ปลูกให้วัว  และใส่พืชสวนครัวปลอดสารพิษ ขายผักได้ วันละ 50-100 บาท อีกทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลแกดำ  มาเรียนรู้พลังงานสะอาดระบบก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์

ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกรบ้านทุ่งนาทอง ได้ขอให้มหาวิทยาลัยเข้ามาพัฒนาและสนับสนุนการทอผ้า ซึ่งเดิมทอแบบภูมิปัญญาสืบทอดมาแต่บรรพบุรุษ พอได้ใช้และขายในชุมชนบ้าง จึงอยากให้มหาวิทยาลัยมาช่วยยกระดับการทอผ้าให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมการตลาด ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

 

 ภาคบ่าย

  1. ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเลี้ยงไหมครบวงจร ที่บ้านบอน ถนนเทศบาลแกดำ 1 อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

สถานที่ตั้งหน้าที่ว่าการอำเภอแกดำ ซอยหน้าสถานีตำรวจอำเภอแกดำ

พบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงไหมต้องการองค์ความรู้ในการยกระดับการแปรรูปการทอผ้าไหมให้ได้มาตรฐาน (มผช) และต้องการองค์ความรู้ในการทำสบู่ใยไหม การทำแชมพู และครีมบำรุงผิว ให้ได้รับ (อย.)  จึงขอให้มหาวิทยาลัยเข้ามาช่วยในการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่จะช่วยยกระดับให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ต่อไป

 

  1. ติดตามผลการดำเนินงานที่ บ้านเหล่าจั่น ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้นำร่อง แห่งแรกในอำเภอแกดำที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามได้เข้ามาพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 ของนายสมาน ภูมีแกดำ บ้านเหล่าจั่น ตำบลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม โดยมหาวิทยาลัยได้สนับสนุน ดังนี้ 1. องค์ความรู้ การทำเกษตรแบบโคกหนองนาโมเดล และการส่งเสริมอาชีพตามเอกลักษณ์อัตลักษณ์ของท้องถิ่น ในการเลี้ยงกบนากบพันธุ์พื้นบ้าน และปลูกสมุนไพร ตามคำขวัญของอำเภอแกดำ ที่ว่า “หลวงปู่จ้อยคู่เมือง ลือเลืองอ่างแกดำ งามล้ำกู่โนนพระ ศิลปะงานไม้ไผ่ กบใหญ่มากมี ของดีสมุนไพร” และ 2. สนับสนุนนวัตกรรม ได้แก่ ระบบก๊าซชีวภาพ ระบบน้ำหยดเพื่อการเกษตร ตลอดถึงเครื่องมือในการตรวจวัดคุณภาพดินและน้ำ

พบว่า  ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ของอำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม ช่วยให้กลุ่มเกษตรกรลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และขยายผลเป็นวิทยากรตัวคูณสอนให้เกษตรกรกลุ่มอื่นๆ ต่อยอดองค์ความรู้นำไปสร้างอาชีพให้เกิดความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งยังได้พัฒนาการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมเป็นการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ และช่องทางการสร้างตลาดนำการผลิต

เฟสบุ๊คสำนักบริการวิชาการ

https://www.facebook.com/asc.rmu

เฟสบุ๊ค ภูมีแกดำฟาร์ม

https://www.facebook.com/poomeekaedamfarm/
youtube ภูมีแกดำฟาร์ม :https://www.youtube.com/channel/UCK_-3yJrDyTFLOJgEUMMo8Q
โทรศัพท์ 087-9446491

 

ความเห็น

ความเห็น