สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” ในพื้นที่ บ้านหนองฮี ต.เมืองเตา อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปินะเต ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ และนายมาตรา ยุบลชู เจ้าหน้าที่สำนักฯ นำเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการ “การถ่ายทอดเทคโนโลยีการยกระดับการผลิตสมุนไพรคุณภาพดีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” โดย สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในพื้นที่ บ้านหนองฮี ต.เมืองเตา อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม โดยมีเกษตรกรนำร่องจาก 2 พื้นที่ ดังนี้ 1) บ้านหนองฮี ต.เมืองเตา อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม 2) บ้านส่องเหนือ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม โดย สวทช. จัดให้มีกิจกรรมการอบรมการเพาะปลูกพืชที่ดีและมีคุณภาพ การดูแลรักษาตลอดกระบวนการเพาะปลูก รวมถึงการป้องกันรักษาเรื่องโรคแมลงและศัตรูพืช รวมทั้งการลงพื้นที่ติดตามแปลงเพาะปลูกของเกษตรกร ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้รับองค์ความรู้ที่จะนำไปปรับใช้ในพื้นที่แปลงเพาะปลูก และให้การดำเนินการสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์โครงการต่อไป

สำนักบริการวิชาการ เข้ายื่นแบบคำขอการรับรองมาตรฐานจีเอพี (Good Agricultural Practice GAP มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย:การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี) ให้กับเกษตรกรเครือข่ายการบริการวิชาการ ในจังหวัดมหาสารคาม

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ทวีทรัพย์ ไชยรักษ์ อาจารย์พจน์ศิรินทร์ ลิมปินันทน์ รองผู้อำนวยการสำนักฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จารุวรรณ เอกสระพัง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักฯ และนางสาวสุนิสา เทพาศักดิ์ ผู้ปฏิบัติงานบริหารปฏิบัติการ เข้าพบนายวรายุทธ จันทนันท์ นักจัดการงานทั่วไปชำนาญการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดมหาสารคาม เพื่อยื่นแบบขอรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัย:การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) ภายใต้โครงการโครงการการพัฒนาขีดความสามารถของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพืชเศรษฐกิจภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม  ให้กับเกษตรกรที่ยื่นแบบคำขอใบรับรองแหล่งผลิต GAP พืช ใน 3 พื้นที่ดังนี้ 1) บ้านหนองข่า ต.ประชาพัฒนา อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม จำนวน 18 ราย 2) ตำบลบรบือ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม จำนวน 10 ราย 3) บ้านส่องเหนือ ต.ตลาด อ.เมือง จ.มหาสารคาม […]

สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม จัดกิจกรรมอบรมการตรวจรับรองมาตรฐาน อย.พื้นที่ บ้านสว่าง ต.กุดรัง อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการตรวจรับรองมาตรฐาน อาหารและยา (อย.) ภายใต้โครงการเสริมสร้างสมรรถนะภาคีเครือข่ายการวางแผนพัฒนาเชิงพื้นที่ขยายผลระดับตำบลเสริมสร้างคุณภาพชีวิตเกษตรกร ณ ศาลาเอนกประสงค์ บ้านสว่าง ม.11 ต.กุดรัง อ.กุดรัง จ.มหาสารคาม โดยได้รับเกียรติจาก เภสัชกรหญิง ปธิณี อัคนิจ เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องผลิตภัณฑ์และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารและยา (อย.) ประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม และมาตรฐานของสถานที่ผลิตอาหาร ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้กลุ่มสมาชิกในชุมชนได้เข้าสู่กระบวนการตรวจรับรองมาตรฐาน อย. และสร้างเสริมองค์ความรู้การยกระดับผู้ผลิตสินค้าในชุมชนให้ได้มาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย มีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวมีสมาชิกในชุมชน ผู้นำชุมชน และกลุ่มสตรีแม่บ้าน บ้านสว่างสนใจเข้าร่วมกิจกรรม และร่วมวางแผนดำเนินการเพื่อเตรียมความพร้อมยื่นขอรับรองมาตรฐาน อาหารและยา (อย.) ต่อไป

คลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ร่วมกิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่ ประจำเดือนมีนาคม 2566

เมื่อวันพุธ ที่ 22 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เข้าร่วมโครงการปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริ์ และหน่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุข สร้างร้อยยิ้มให้ประชาชนจังหวัดมหาสารคาม (จังหวัดเคลื่อนที่) ณ บริเวณโรงเรียนบ้านห้วยม่วง ตำบลแห่ใต้ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยมี นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม เป็นประธานในการเปิดจังหวัดเคลื่อนที่ประจำเดือนมีนาคม 2566 มีหน่วยงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรวมทั้งประชาชนในพื้นที่ตำบลแห่ใต้ และพื้นที่ใกล้เคียง เข้าร่วมกิจกรรม ทั้งนี้ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม นำโดย อาจารย์วิรุณ โมนะตระกูล อาจารย์สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีเครื่องจักรกล และนายทศพล วิชัยวงค์ ได้จัดบูธให้คำแนะนำเทคโนโลยี เทคนิค กระบวนการผลิตเวชสำอาง โดยนำองค์ความรู้จากการทำสบู่ขิง สบู่เหลว ครีมทาผิว แชมพูสระผม และน้ำมันหอมระเหย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคามที่เป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพ เเละลดต้นทุนการใช้จ่ายในครัวเรือน

สำนักบริการวิชาการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์การใช้ประโยชน์จากต้นไม้ประจำจังหวัด

สำนักบริการวิชาการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์การใช้ประโยชน์จากต้นไม้ประจำจังหวัด กิจกรรมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา สำนักบริการวิชาการ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปินะเต ผู้อำนวยการฯ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างสรรค์การใช้ประโยชน์จากต้นไม้ประจำจังหวัด กิจกรรมสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ซึ่งจัดขั้นโดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดมหาสารคาม นายพงษ์ศักดิ์ คณะมะ พัฒนาการจังหวัดมหาสารคาม มอบหมายให้ นายบุญโฮม งามเลิศ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ประจำจังหวัดครั้งที่ 1/2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนองพระราชดำริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)และค้นหาองค์ความรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของต้นไม้ประจำจังหวัด สร้างสรรค์วิธีการใช้ประโยชน์จากต้นไม้ให้สามารถแปรรูป/พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำไปสู่รายได้ของประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้เบื้องต้นกำหนดกลุ่มเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) จำนวน 25 คน โดยประกอบด้วยหัวหน้าส่วนราชการ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานพันธุ์ไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดของแต่ละจังหวัด นำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด โดยต้นไม้ประจำจังหวัดมหาสารคามคือ ต้นพฤกษ์ เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ อยู่ในพืชวงศ์ถั่ว ขนาดกลางถึงใหญ่มีความสูงเจริญเติบโตง่ายเป็นไม้มงคล […]

1 2 3 42